Contact work : myhelloasian@gmail.com
เบื้องลึก ตัวละคร “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” จากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ สู่มหัศจรรย์ภาพยนตร์รัสเซียแฟนตาซี
ที่โรงภาพยนตร์เครือ SF ทั่วประเทศ 4 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป
หลังจากเปิดเทศกาล “วันภาพยนตร์มอสโกในประเทศไทย” (Moscow Film Days in Thailand) ที่นำเสนอภาพยนตร์คุณภาพ ครั้งแรกและครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์รัสเซีย ที่จัดฉายในประเทศไทย จัดโดย กรมวัฒนธรรมประจำรัฐบาลกรุงมอสโก, สำนักงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำ กรุงมอสโก, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำประเทศไทย และดำเนินการโดย JMCC Agency เพื่อฉายภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 5 เรื่อง โดยล่าสุดได้ส่งภาพยนตร์กึ่ง
แอนิเมชั่นแฟนตาซีเหนือจินตนาการ กับเรื่องราวแห่งมิตรภาพ ความรัก และมนตรา จากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ สู่การผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ เรื่อง “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) ที่จะดึงดูดผู้ชมทุกวัยและรับชมได้ทั้งครอบครัว พร้อมกันทั่วประเทศ ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ SF ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนนี้ เป็นต้นไป
ภาพยนตร์เรื่อง “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) สร้างมาจากเทพนิยายสุดอัศจรรย์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 บอกเล่าเรื่องราวของ จอห์น ชายหนุ่มแสน
โรแมนติก และโฟล เพื่อนซี้แสนฉลาด พวกเขาได้ออกเดินทางผจญภัยที่คาดเดาไม่ได้ สองคู่หูต้องหาทางเอาชนะกษัตริย์สุดชั่วร้าย ตามจับนกเพลิง และค้นหารักแท้ในดินแดนมหัศจรรย์ แต่มิตรภาพของพวกเขาจะฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลำบากในการผจญภัยครั้งนี้ได้หรือไม่ ต้องติดตาม!...สามารถมารับชมพร้อมกันได้ทั้งครอบครัว
ก่อนจะไปชม “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads)” โอกาสนี้เรามาฟังทีมงานเล่าถึงเบื้องลึก เบื้องหลัง ตัวละครหลักของภาพยนตร์อันลือลั่นนี้ด้วยกัน
ม้ามหัศจรรย์คู่ใจ
อเล็กซานเดอร์ โกโรคอฟ ผู้อำนวยการสร้างงานวิชวลเอฟเฟกต์ กล่าวว่า เนื่องจาก โฟล เป็นคู่หูผู้ภักดีต่อจอห์น โฟล ม้ามหัศจรรย์ผู้นี้มีเวลาโลดแล่นบนจอนานมากพิเศษ และแน่นอนว่าตั้งแต่ช่วงต้นของภาพยนตร์ ตัวละครนี้ต้องสมจริงเป็นพิเศษ เพื่อดึงดูดผู้ชม “ในแง่ของงานวิชวลเอฟเฟกต์ สิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดของการสร้างตัวนี้คือ แพดดิงตัน (Paddington - หมีชื่อดังของอังกฤษที่เป็นหนังแฟรนไชส์สุดฮิต) ที่สร้างโดยการใช้ซีจี” แต่ความแตกต่างจากแพดดิงตันคือ การแสดงสีหน้าและอากัปกิริยาของม้ามหัศจรรย์ โฟล จะถอดแบบจากผู้ให้เสียงพากย์ พาเวล เดเรฟยานโก (Pavel Derevyanko) ทั้งหมด ซึ่งการแสดงออกทางสีหน้าและท่วงท่าเคลื่อนไหวของเขาก็จะบันทึกด้วยเทคนิค Facial Motion Capture
เดเรฟยานโกเผยว่า “ก่อนการถ่ายทำเริ่มต้น ผมต้องตีความและฝึกฝนกระบวนการแสดงออกของตัวละครนี้ทั้งอารมณ์และสีหน้าอย่างหนัก แต่มองอีกมุมหนึ่งคือเมื่องานเสร็จแล้ว ผมไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องสีหน้าในฉากของหนังเลย”
ด้าน โกโรคอฟ กล่าวเสริมว่าในเทพนิยายต้นฉบับของปีเตอร์ เออร์ชอฟ ไม่มีการกล่าวโดยตรงว่าม้ามหัศจรรย์นั้นมีปีก แต่แค่สามารถเหาะบนอากาศ เหินไปยังสถานที่ที่เขาอยากไป “เราอยากให้เจ้าโฟลเหมือนเพกาซัส จึงใช้เวลานานพอสมควรในการเลือกปีกที่เหมาะสมสำหรับมัน แม้สุดท้ายเราเลือกปีกของนกอินทรี แต่ในการปรับตัวปีกให้เข้ากับหลังของโฟล เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกายภาพของตัวละครนี้ด้วย ส่วนที่เป็นโหนกค่อมบนหลังม้าโฟลจึงไม่ได้ใช้ในหนัง”
เครื่องแต่งกาย ตัวละคร
เซอร์เจย์ เซลยานอฟ (Sergey Selyanov) และ อเล็กซานเดอร์ โกโรคอฟ ผู้อำนวยการสร้าง ต้องการให้เครื่องแต่งกายในหนังมีความทันสมัยและเข้ากับตัวละครเท่าที่เป็นไปได้ แต่ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย นาเดซดา วาซิลเยวา Nadezhda Vasilyeva บอกกับบรรดาผู้อำนวยการสร้างว่า แฟชั่นสมัยโบราณมักเป็นแรงบันดาลใจสำหรับงานออกแบบและงานภาพที่ทันสมัย เธออธิบายว่า “เราจึงอิงจากตารางสีเพื่อให้ดูลึกซึ้งและมีชีวิตชีวา แล้วเมื่อเราทำแบบสำหรับงานเย็บปัก เราเลยมีการผสมผสานองค์ประกอบของงานออกแบบที่เรียกว่า lubok (รูปแบบงานศิลปะประจำชาติรัสเซีย) ไม่ว่าจะเป็นสิงโต ยูนิคอร์น นกเพลิง และอีกมากมาย วาซิลเยวาและเพื่อนร่วมงาน โอลกา มิเคลโลวา (Olga Mikhailova) ใช้ผ้าทอที่ค้นพบในอินเดีย และส่าหรีมาดัดแปลงเป็นเสื้อคลุมสำหรับตัวละครของจอห์น และชุดซาราฟาน (ชุดพื้นเมืองของชนชาติรัสเซีย) สำหรับตัวประกอบทั้งหลาย”
แม้ทีมเครื่องแต่งกายมีเพียง 13 คน วาซิลเยวากับมิเคลโลวา ก็ได้ออกแบบชุดกว่า 300 ชุดที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับตัวละครตัวประกอบแต่ละคน อีกทั้งยังให้ไอเดียว่าเครื่องแต่งกายสามารถเล่าเรื่องราวได้ โดยรายละเอียดและสื่อถึงอาชีพของตัวละคร
เจ้าหญิง
เจ้าหญิงในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นคนต่างชาติ สไตล์ของเธอจึงดูมีความยุโรปมาก “เธอหลับใหลในโลงคริสตัลและดูแข็งเยือก การออกแบบชุดของเธอจึงต้องสอดคล้องกับดอกไม้ที่ถูกแช่แข็ง” วาซิลเยวากล่าว “มันเป็นธรรมเนียมในยุคโบราณที่ศพในหลุมจะสวมชุดผ้าใบธรรมดาๆ เราจึงเลือกใช้งานผ้าแบบนั้นแล้วใช้เส้นใยสีเงินมาถักเย็บกับพวกมงกุฎ หัวกะโหลก และบรรดาพืชมีหนาม”
จนเมื่อเจ้าหญิงกระโดดจากหน้าผา ชุดของเธอก็แปรสภาพเป็นร่มชูชีพแล้วปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งน้ำแข็งนั้นทำจากพลาสติกด้วยมือของคนทำและเอามาติดชุด เธอจึงดูเหมือนถูกแช่แข็งอยู่
จอห์น
จอห์นถือเป็นฮีโร่พื้นบ้านในเทพนิยาย เป็นชายชนบทแสนธรรมดา จึงแต่งตัวด้วยเสื้อแสนเรียบง่าย แต่ปัญหาคือนักแสดงของเรื่อง แอนทัน ชากิน (Anton Shagin) ผู้สวมบทเป็นจอห์น ไม่ได้ดูดีตอนการสวมชุดผ้าลินินเรียบๆ นักออกแบบจึงต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเสริมเติมพวกสีสันลงในชุดของเขา
ความไร้สีสันจึงไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เมื่อคราวที่กษัตริย์แต่งตั้งจอห์นและมอบเสื้อคลุมที่ถักเย็บกับลายดอกไม้ ลายม้า และนกเพลิง แต่เมื่อจอห์นออกเดินทางไกลในการทำภารกิจครั้งแรกเพื่อกษัตริย์ นักออกแบบเครื่องแต่งกายจึงต้องเปลี่ยนให้เขาแต่งตัวดูมีความเป็นฮีโร่คลาสสิก
กษัตริย์
วาซิลเยวา ได้อธิบายตัวละครกษัตริย์ที่แสดงโดย มิเคล เยเฟรมอฟ (Mikhail Yefremov) ด้วยรูปแบบชัดเจนว่าเป็นชายชราแสนชั่วช้า เขาเป็นวายร้ายของเรื่องนี้ บรรดานักออกแบบจึงหยอกล้อเลียนตัวละครด้วยการเสริมเติมรายละเอียดเล็กน้อยที่ดูตลกขบขัน ตลอดทั่วทุกชุดแต่งกายของเขาคือ การใส่ลายสตรอเบอร์รี่ “มันมีสตรอเบอร์รี่ทุกแห่งบนชุดของเขา ตั้งแต่เสื้อกั๊ก เสื้อคลุม สายคาดเอว แม้กระทั่งถุงเท้าเลยค่ะ” วาซิลเยวากล่าว “แล้วเรายังเสริมลายสตรอเบอร์รี่สีทองลงบนชุดราตรีของเขาด้วย ตอนถ่ายทำ เราจึงเรียกเล่นเกี่ยวกับตัวละครนี้ว่าสตรอเบอร์รี่”
พลาดไม่ได้ กับเทพนิยายอันแสนสนุก ชวนตื่นเต้น “คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” (Upon the Magic Roads) รับชมได้ในโรงภาพยนตร์เครือ เอสเอฟ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนนี้ เป็นต้นไป
คลิกชมภาพยนตร์ตัวอย่าง : https://disk.yandex.ru/d/pmz_alr5Ql_YCQ
ตรวจสอบรอบฉายและซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้ผ่านแอปพลิเคชั่น SF และ www.sfcinema.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านโซเชียลมีเดีย #SFcinema